การสืบสวนข้อมูลของผู้ต้องหารายนี้ จุดเริ่มต้นจากเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 เพจสืบนครบาล IDMB ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ว่าถูก นายแบบ ก. หล่อล่ำ ชื่อดัง ชักชวนให้ร่วมลงทุนนำเงินมาฝากเพื่อเทรด Forex แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยใช้วิธีการสร้างโปรไฟล์หรู หล่อ ดูดี มีการอบรมสัมมนาสร้างความน่าเชื่อถือ และยังพูดจาน่าเชื่อถือ อ้างว่าตนเองมีประสบการณ์กับตลาด forex มายาวนาน ยืนยันว่าบริษัทของตนมีการโอนเงินซื้อขายจริงๆ 100% รวมถึงมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าโบรกเกอร์อื่น ทำให้มีคนตัดสินใจฝากเงินเพื่อทำการเทรดผ่านโบรกเกอร์ของเจ้าตัวกันหลายราย ซึ่งมีตั้งแต่หลักหมื่น ถึงหลักล้าน แรกๆก็สามาถเทรดเงินได้อย่างรวดเร็ว ฝากทุน ถอนกำไรได้ตามปกติ แต่หลังๆทราบว่าไม่ได้มีการนำเงินไปเทรดจริง และก็ถอนเงินคืนไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ตรวจสอบในระบบพบหหมายจับติดตัว 17 หมาย
.
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. เมื่อได้ทราบถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ ให้เร่งรัดติดตามจับกุมผู้ต้องหารายนี้ให้ได้โดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้เสียหาย
.
ต่อมา สารวัตรพิทักษ์ นักสืบวัย 59 ปี จึงได้พาทีมสืบออกสืบสวนหาข่าว ถึงผู้ต้องหารายนี้ ที่หลบหนีเก็บตัวเงียบ จนทราบพบว่าผู้ต้องหามีการเดินทางออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ปลายทางลงสนามบิน”Istanbul Airport“ จากนั้นไม่เคยมีข้อมูลในฐานระบบว่าบินเข้าน่านฟ้าไทยหรือผ่านเส้นทางอื่นๆในระบบเพื่อเข้าไทยโดยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ด้วยวันดังกล่าวที่ผู้ต้องหาเดินทางขาออกในวันดังกล่าว ยังไม่มีการออกหมายจับในฐานระบบ ทำให้ผู้ต้องหาเดินทางได้อย่างราบรื่น
.
ทั้งนี้ทำให้การทำงานสืบสวนของเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมค่อนข้างเป็นไปด้วยความยากลำบากในการหาเส้นทางในการหลบหนีของผู้ต้องหาที่ไม่มีข้อมูลในทางราชการเพื่อให้ง่ายต่อการสืบสวนหาตัว ซึ่งระหว่างการประชุมการทำงานกัน ตลอดระยะเวลา 21วัน ในการพิสูจน์ทราบตัวตนผู้ต้องหาบนสื่อโซเชียล ตลอดจนแหล่งห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และตามเส้นทางที่น่าจะสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ต้องหา
และชุดจับกุมก็ไม่ย่อท้อต่อการหาตัวผู้ต้องหารายดังกล่าว จนสืบทราบในชั้นสืบสวนว่ามีผู้ต้องสงสัยที่มีอัตลักษณ์ใกล้เคียงกับผู้ต้องหา พักอาศัยอยู่คอนโดหรูแห่งหนึ่งย่านฝั่งธน ชุดจับกุมจึงวางกำลังเฝ้าติดตาม12ชั่วโมง ให้ชัดเจนสิ้นสงสัย
.
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ,พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. สั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.ฯ, พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ, พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี, พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส. นำโดย พ.ต.ท.พิทักษ์ ศรีกะแจะ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อม ชุดปฏิบัติการที่ 3 ดำเนินการจับกุม
นายสุรพิชญ์ หรือก๊าซ อายุ 30 ปี ที่อยู่ ถ.พหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานครพร้อมแสดงหมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 105/2566 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ684/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ709/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
.
จากการตรวจในฐานระบบ ยังพบหมายจับ อีก 16 ดังนี้
1.หมายจับศาลแขวงพระนครเหนือ ที่ 483/2566
ลงวันที่ 12 กันยายน 2566 ความผิดฐาน “ฉ้อโกง”
(สน.โชคชัย)
2.หมายจับศาลอาญามีนบุรี ที่ จ.309/2566
ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566 ความผิดฐาน “ฉ้อโกง“
(สน.คันนายาว)
3.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 111/2565
ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2565 คดีหมายเลขดำที่ อ268/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ750/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4”
4.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 155/2566
ลงวันที่ 29 มีนาคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ330/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ1365/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
5.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 96/2566
ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ260/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ171/2566
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
6.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 109/2566
ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ685/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ818/2564
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
7.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 15/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566คดีหมายเลขดำที่ อ685/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ788/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534“
8.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 34/2566
ลงวันที่ 25 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ687/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ759/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4“
9.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 33/2566
ลงวันที่ 25 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ265/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ846/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4”
10.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 41/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ682/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ714/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
11.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 25/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ686/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ75/2566
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
12.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 24/2566
ลงวันที่ 24 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ288/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ73/2566
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534“
13.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 23/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ703/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ72/2566
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
14.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 22/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ683/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ71/2566
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534”
15.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 20/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ266/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ848/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4“
16.หมายจับศาลแขวงดอนเมือง ที่ 19/2566
ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 คดีหมายเลขดำที่ อ680/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ640/2565
ความผิดฐาน “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4”
.
ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การว่า ตนมีอาชีพทำงานอิสระเคยผ่านงานในวงการบันเทิงตั้งแต่อายุ19ปี รวมถึงงานถ่ายแบบต่างๆมากมาย สำหรับมูลแห่งคดี”ฉ้อโกง“ แล้วลวงเช็คเด้ง ”จุดเริ่มต้นธุรกิจโซเชียลมีเดียของ “ไฟด์ เทค กรุ๊ป” เกิดจากการที่ผู้ต้องหาปิ๊งไอเดียชักชวนเพื่อนๆมาร่วมหุ้นกันตั้งบริษัทรับทำเกี่ยวกับแอปพลิเคชั่น เกมออนไลน์ และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ขึ้นมา โดยรับหน้าที่บริหารจัดการและเป็นคนรับเงินจากลูกค้ามาเข้าบริษัทให้เพื่อนๆ ช่วยกันทำอีกที“ จากนั้นเริ่มหมุนไม่ทัน เอาเงินไปลงทุนทั้งเทรดหุ้น ทั้งนำไปใช้ชีวิตที่หรูหราจนวันนี้ผมไม่เหลืออะไร
.
ผู้ต้องหาให้การอีกว่า “ในระหว่างที่ ผู้ต้องหา พักที่อังกฤษ” ตนสืบทราบภายหลังว่าหมายจับกำลังทยอยออก ไม่ว่าจะหมายศาลแขวงดอนเมืองและหมายจับในท้องที่นครบาลกำลังเริ่มต่อแถวกัน ตนยอมรับว่ากังวลใจและคิดหาวิธีเพื่อหลบหนีเข้าไทยให้ได้พร้อมทั้งศึกษาจากผู้มีประสบการณ์
.
ระหว่างปี2565 ที่ตนบินไปอังกฤษตามเส้นทางการบินดังกล่าวนั้น ตนอ้างว่าไปศึกษาต่อด้านภาษาในหลักสูตร1ปี จากนั้นตนคิดถึงบ้านที่เมืองไทย จึงวางแผนในการเดินทางกลับแต่แล้วก็เกิดความกังวลใจ เพราะได้ทราบว่าตนมีหมายจับจำนวนมาก จึงคิดหาทางเพื่อเดินทางกลับเข้าไทยแบบลับตา(ตบตาชุดสืบสวนภายหลังมีหมายจับ)โดยอ้างว่าตนรู้จักกับหญิงวัยกลางคนชาวมาเลเซียที่พักอยู่อังกฤษ ยื่นข้อเสนอว่าจะช่วยตนในการเดินทางผ่านเข้ามาเลเซียโดยการันตีว่าจะไม่ถูกจับกุม โดยคิดค่าช่วยเหลือครั้งละ5,000บาท
.
จากนั้นผู้ต้องหาให้การว่าตนก็จะนั่งเครื่องบินจากอังกฤษต่อเครื่องมาลงสนามบินมาเลเซีย โดยยืนยันว่า หญิงมาเลเซียดังกล่าวให้การช่วยเหลือตนได้จริง รอดปลอดภัยได้จริง โดยตนไม่ต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เข้าๆออกๆ4ครั้ง ซึ่งล่าสุด ผู้ต้องหาให้การว่า อีกว่าตนก็แอบเข้า-ออก ประเทศอังกฤษ แบบไม่ถูกกฎหมาย ล่าสุดตนเข้ามาเดือนมีนาคม 2567 โดยทั้งหมดตนยืนยันว่า จากภูเก็ตไปสู่มาเลเซียนั้นด้วยรถยนต์ จากนั้นซื้อตั๋วบินจากมาเลเซียเพื่อลงพักเครื่องยังประเทศอื่นๆก่อนเดินทางสู่จุดหมายประเทศอังกฤษ
.
ตนหวังว่าครั้งนี้จะได้ออกไทยรอดปลอดภัยเป็นครั้งที่ 5 แต่สุดท้ายก็มาเจอชุดสืบนครบาลที่ตนพึ่งดูคลิปสารวัตร“วัย59ใกล้เกษียณ” วิ่ง 100.เมตรจับคนร้ายในเมื่อวาน สุดท้ายก็หนีไม่พ้น ”ชุดสืบวัยใกล้เกษียณ“จับกุม จากนั้นจึงได้ทำการบันทึกจับกุมและส่งตัวผู้ต้องหา ให้พนักงานอัยการศาลแขวงดอนเมือง เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
.
พล.ต.ต.ธีรเดช ฝากเตือนประชาชน กลโกงลักษณะนี้มีทั้งการหลอกให้ลงทุนในหุ้น กองทุนรวม สกุลเงิน สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนสินทรัพย์ทางเลือกต่าง ๆ คนที่กำลังมองหาแหล่งเงินได้ในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัว ข้าวของแพงขึ้น มีสิ่งล่อตาล่อใจให้อยากมีอยากได้มากขึ้น เมื่อมีช่องทางในการสร้างรายได้แบบไม่ต้องลงแรงมาก ไม่ต้องมีความรู้ ได้เงินเร็ว หลายคนจึงสนใจ และกลายเป็นเหยื่อของการหลอกลงทุนในที่สุด ฉะนั้นแล้ว ก่อนจะลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล หรือใช้ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ก่อนตัดสินใจลงทุน เป็นการปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมากตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. , พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร.